บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

ย่อหน้าที่สอง ที่สาม


บทความก่อนหน้านี้ คือ “ปัญหาการพิมพ์ย่อหน้า”, “ย่อหน้าแบบมาตรฐาน” ผมกล่าวถึงการปรับปรุงแก้ไขย่อหน้าแรกเท่านั้น

ต่อไปจะเป็นการปรับปรุงแก้ไขย่อหน้าที่สอง ที่สาม และย่อหน้าต่อไป เท่าที่ควรจะมี

ขอให้ดูตัวอย่างการผลงานของคุณแพนเค้กสีชมพูก่อน โดยจะเอาหน้าที่ 5 ของบทที่ 1 มาเป็นตัวอย่าง ดังนี้


ในการแก้ไขเนื่องจากเราได้ทำ style ของย่อหน้าที่ชื่อ body01 ไปแล้ว  ขั้นตอนแรกเลย เราก็จะเปลี่ยน style ของย่อหน้าทั้งหมดในหน้าที่ 5 ให้เป็น style body01 ให้หมด แล้วอย่างอื่นค่อยตามแก้ทีหลัง

วิธีการก็คือ ระบายดำย่อหน้าทั้งหมดในหน้าที่ 5  แล้วไปคลิก body01 ในแถบเมนู  หน้าที่ 5 ก็จะกลายเป็นแบบนี้  


 ไม่ต้องระบายไปที่หัวข้อนะครับ เพราะ หัวข้อถูกต้องแล้ว

จะเห็นว่า หน้าตาของย่อหน้าเปลี่ยนไปมาก และพบข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไขมาก เราจะแก้ไขในส่วนที่ของหัวข้อ “คำถามการวิจัย” ก่อน 

จะเห็นว่า ที่ระบายสีเขียวไว้ คือ เลขลำดับหายไป  ที่ระบายสีเหลือง คือ การไป Enter โดยไม่มีเหตุผล ทำให้เกิดเป็นย่อหน้า

 วิธีแก้ไขก็ง่าย เพิ่มข้อเข้าไปใหม่  และลบเครื่องหมายพายทิ้งไป


เราก็จะได้ย่อหน้าที่ถูกต้องคืนมาแล้ว  ในภาพดังกล่าว ผมลบเครื่องหมายแท็บ หน้าข้อ 1 กับ ข้อ 2 ของหัวข้อวัตถุประสงค์ของการวิจัยไปด้วยแล้ว

ปัญหาของหัวข้อในส่วนที่เป็นคำถามของการวิจัย ที่ลำดับหัวข้อหายไปตอนเราเปลี่ยน style เป็น body01 ก็เป็นเพราะว่า คุณแพนเค้กสีชมพูไปเลือกใช้การตั้งหัวข้ออัตโนมัติ ซึ่งไม่ควรจะทำอย่างนั้นเลย

เพราะ จะเป็นปัญหามากในการทำผลงาน เมื่อมีหน้ากระดาษมากๆ เข้า

วิธีแก้ไข การตั้งหัวข้ออัตโนมัติ มี 2 วิธีคือ วิธีบ้านๆ กับวิธีมาตรฐาน

วิธีบ้านๆ
วิธีบ้านๆ ก็คือ เมื่อเราจะทำหัวข้อ แล้วโปรแกรมมันเสือกฉลาด ทำหัวข้อให้โดยอัตโนมัติ ให้เรายกเลิกการทำงานครั้งสุดท้ายออกไป โดยกด Ctrl Z  จนกว่าจะได้เลขหัวข้อคืนมา

ในการทำหัวข้ออัตโนมัติโปรแกรมทำหลายคำสั่ง เมื่อเรากด Ctrl Z  มันจะยกเลิกคำสั่งท้าย บางทีกดครั้งเดียว บางทีกดสองครั้ง จนกระทั่งได้เลขลำดับหัวข้อขึ้นมาก็แล้วกัน

ขอให้ลองทำดู

วิธีมาตรฐาน

คลิกที่ File หน้าจอจะเปลี่ยนไป คลิกที่ Options  หน้าต่าง Word Option ก็จะโผล่ขึ้นมา ดังภาพ


ภาพที่เห็นนั้น ผมคลิกที่ Proofing แล้วด้วยนะครับ  ต่อไปให้คลิก AutoCorrect Options.. ที่ระบายสีเหลืองไว้


เมื่อหน้าจอ AutoCorrect โผล่ขึ้นมา ให้คลิกที่ AutoFormat As You Type เอาลูกศรในช่องที่เหลี่ยมที่ผมระบายเหลืองไว้ เอาออกให้หมด 

ต่อไปให้คลิกที่ AutoForma เอาลูกศรในช่องที่เหลี่ยมที่ผมระบายเหลืองไว้ เอาออกให้หมด  แล้วก็กด OK


ต่อจากนีั้ไป ไอ้จำพวก อัตโนมัติที่ฉลาดๆ จนรำคาญทั้งหลายก็จะไม่โผล่ออกมาให้เห็นในไฟล์นี้  แต่ถ้าเป็นไฟล์อื่น ก็ต้องไปตั้งใหม่

ต่อไปดูที่หัวข้อ ขอบเขตของการวิจัย ปรากฏว่า หัวข้อของเลขตัวเดียวกับ 3 ตัวหายไป เหลือเพียงหัวข้อของเลข 2 ตัว


เราก็พิมพ์เข้าไปให้ครบ แก้ไขส่วนที่ไม่ดีด้วย ก็ได้ดังภาพ

ส่วนที่จะต้องแก้ไขต่อไปก็คือ เลขมันตรงกันหมด  จะสังเกตว่า จากตัวเลขผมเคาะ 2 เคาะ เพราะระเบียบการพิมพ์หลายมหาวิทยาลัยเป็นอย่างนี้ [ของธรรมศาสตร์ไม่ใช่แบบนี้]

จากภาพดังกล่าวขอให้สังเกตดูเครื่องสี่เหลี่ยมคางหมูเล็ก หัวทิ่มลง ลูกศรสีเขียวชี้อยู่ และเครื่องสี่เหลี่ยมคางหมูเล็ก หัวขี้ขึ้น ลูกศรสีน้ำเงินชี้อยู่

เครื่องสี่เหลี่ยมคางหมูเล็ก หัวทิ่มลง มีหน้าที่ “คุม” บรรทัดแรก  สังเกตดูว่า บรรทัดแรกของย่อหน้าจะตรงกับเครื่องหมายนี้  ลองใช้เม้าส์ลากไป ลากมาดู

เครื่องสี่เหลี่ยมคางหมูเล็ก หัวขี้ขึ้น มีหน้าที่ “คุม” บรรทัดที่เหลือทั้งหมดของย่อหน้า  ลองใช้เม้าส์ลากไป ลากมาดู

ผมจะปรับย่อหน้าที่เหลือให้ดู ดังนี้

จากภาพดังกล่าว เอาเครื่องหมายพายออกไป จะดูสวยงาม ปรับปรุงอีกเล็กน้อยก็เสร็จ พร้อมพิมพ์



1 ความคิดเห็น:

  1. ในไมโครซอฟท์เวิร์ดมีสไตล์ List Number, List Number 2,..., List Number 5 เป็น Built-In Number แล้วเพียงแต่ไม่ได้ทำให้พิมพ์เลขลำดับย่อยได้ต้องแก้ไขครับ

    ตอบลบ