ปัญหาใหญ่ของคุณแพนเค้กสีชมพูก็คือ
การพิมพ์ย่อหน้าที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่ถูกต้องตามระเบียบเท่าที่ควรจะเป็น
ในการตรวจสอบนั้น
ผมมีวิธีการตรวจสอบดังนี้
1) เอาเคอร์เซอร์ไปอยู่ในย่อหน้าที่จะตรวจสอบ
2)
ดูที่แถบแมนูให้เป็น Home/Paragraph
(ระบายสีเหลืองไว้) แล้วคลิกตรงลูกศรเล็ก
ในวงกลมสีเขียว หน้าต่าง Paragraph
ก็จะโผล่ออกมา [เครื่องหมายพายในสี่เหลี่ยมสีแดง คือ ตัวที่ทำให้เครื่องหมายพายโชว์หรือไม่โชว์]
ตรงแถบระบายสีเขียวนั้น
ควรจะถูกต้องแล้ว คือ
ระเบียบการพิมพ์ยุคใหม่นี้ หลายมหาวิทยาลัยบอกให้เคาะ 1 แทบ เคาะ 1 แทบก็เท่ากับ .05 นิ้วพอดี ผมก็เห็นด้วยกับระเบียบนี้ เพราะ
ทำให้สะดวกขึ้น
แต่ตรง
Line
spacing นี้ไม่ถูกต้องแล้ว
มันต้องเป็น Exactly 22 พอยน์ ทำไมถึงต้องเป็นอย่างนั้น
Line
spacing คือ ช่องว่างระหว่างบรรทัด การตั้งเป็น Single คือ เท่าบรรทัดเดียวนั้น สระอุ สระอูของบรรทัดบน มันจะมีตีกับสระอิ สระอีของบรรทัดล่าง
ระเบียบการพิมพ์ก็กำหนดไว้ให้มากกว่านั้น
โดยหลักการ
ช่องว่างระหว่างบรรทัดควรจะเป็น 120 % ของตัวอักษร ในเมื่อตัวอักษรเป็น 16 พอยน์ ช่องว่างระหว่างบรรทัดก็ควรจะเป็น 22 พอยน์
จากภาพด้านบน
ผมปรับ Line
spacing ถูกต้องแล้ว จะเห็นว่า ช่องว่างระหว่างบรรทัดดีขึ้น
เหลืออีกเพียงอย่างเดียวก็คือ
ท้ายสุดของบรรทัดยังไม่ตรงกัน ซึ่งปัจจุบันระเบียบการพิมพ์ของหลายมหาวิทยาลัยบังคับให้ตรงกัน
ดูตรงที่ระบายสีเขียวไว้ ตอนนี้เป็น Left คือจัดซ้ายตรง
ขวาปล่อยเอาไว้ก่อน
การพิมพ์งานจริงๆ
ควรทำแบบนี้ไปก่อน เมื่อไหร่ก็ตาม
เราตรวจคำผิดคำถูกเรียบร้อยแล้ว และเอาจริงแล้ว
เราค่อยไปปรับทีหลังได้
เช่นผมจะทำให้ดูดังนี้
วิธีการก็ง่าย
คือ เอาเคอร์เซอร์ไว้ในย่อหน้า (ที่ระบายสีเหลืองไว้) แล้วก็เอาเม้าส์คลิกที่ “Thai Distributed” ซึ่งเป็นการกระจายแบบไทย
ย่อหน้าของเราก็จะถูกต้องตามระเบียบการพิมพ์แล้ว
ต่อไป
ดูที่หน้าต่าง Paragraph
จะเห็นว่า เมื่อก่อนที่เป็น Left ก็เป็น Thai
Distributed แล้ว
ต่อไปเป็นการเอา
“ย่อหน้าที่ถูกต้องแล้ว” ไปใช้งานกับย่อหน้าทั้งหมดในงานของเรา ซึ่งก็มีการทำแบบง่ายๆ หรือผมจะเรียกว่า
การทำแบบบ้านๆ กับการทำแบบยากหน่อย
แต่เป็นการทำที่มาตรฐาน
เรามาดูการทำแบบบ้านๆ
กันก่อน
1) เราต้องระบายดำที่ย่อหน้าแรกของเราให้ดำทั้งหมด เช่นเดียวกับย่อหน้าที่ 2 ที่เห็นอยู่ในขณะนี้
2)
ใช้เม้าส์คลิกที่ “แปรงทาสี” ในแถบระบายสีเขียว
แปรงทาสีที่ผมเรียกนี้คือ ตัวคัดลอกย่อหน้า ต่อไปก็ไประบายดำย่อหน้าที่ 2
ให้ดำทั้งย่อหน้า
จะเห็นว่า
ย่อหน้าที่ 2 เหมือนกับย่อหน้าที่ 1 แล้ว
เหลือเพียงลบเครื่องหมายลูกศรของแท็บออก ก็จะถูกต้องแล้ว
ดังภาพต่อไป
ขอย้ำว่า
การพิมพ์ของเรานั้น ต้องพิมพ์ให้เสร็จเรียบร้อยตั้งแต่การทำย่อหน้าแบบ Left
เอาไว้ก่อน เมื่อเสร็จแล้ว จึงทำแบบ Thai Distributed
ปัญหาของการแก้ไขย่อหน้าแบบบ้านนี้ก็คือ
เราต้องใช้แปรงทาสีตลอดทั้งเล่ม
มันก็ไม่ค่อยจะสะดวกนัก
ยังมีวิธีที่เป็นแบบมาตรฐาน
ดีกว่า สะดวกกว่าซึ่งจะได้เขียนต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น